โครงการอบรมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้าน HRM (payroll) ผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์/ออนไลน์

 

โครงการอบรมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้าน HRM (payroll)

ผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์/ออนไลน์

 วันศุกร์ที่ 2 – วันเสาร์ที่ 3 และวันพฤหัสบดีที่ 8 วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564

จัดโดย สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

 

1.  หลักการและเหตุผล 

     ทักษะการสรรหาคัดเลือกบุคลากร และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสมรรถนะที่สำคัญของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ทั้งนี้นักศึกษาต้องมีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้าน HRM ดังนั้นสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์จึงจัดกิจกรรมอบรมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้าน HRM (payroll)

2.  วัตถุประสงค์ 

     2.1   เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และฝึกทักษะโปรแกรมสำเร็จรูปด้านการบริหารค่าตอบแทน (payroll  )

     2.2   เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติและมีทักษะในศตวรรษที่ 21

3.  เป้าหมาย/ตัวชี้วัด   

     นักศึกษาสาขาวิชาฯ ชั้นปีที่ 2 หมู่เรียน 62/84 จำนวน 39 คน จากกลุ่มเป้าหมาย 39 คน คิดเป็นร้อยละ 100

     ค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของการอบรมเท่ากับ 4.60

     ตัวชี้วัด: คะแนน post-test สูงกว่า คะแนน pre-test   

     ผลลัพธ์: คะแนน post-test สูงกว่า คะแนน pre-test เท่ากับ 9.08

4.  สถานที่ดำเนินโครงการ 

     อบรมผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์/ออนไลน์ ณ บ้านพักของวิทยากร

5.  ระยะเวลาดำเนินโครงการ 

     วันศุกร์ที่ 2 วันเสาร์ที่ 3 และวันพฤหัสบดีที่ 8 วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564

เวลา 8.30-16.30 น. อบรมผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์/ออนไลน์

6. วิทยากร

วันศุกร์ที่ 2 วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2564:

     อาจารย์มาลินี นาคใหญ่ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

วันพฤหัสบดีที่ 8 วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564:

     อาจารย์กิตติพงษ์ ภู่พัฒน์วิบูลย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

7.  วิธีดำเนินการ  

     7.1   ประชุมวางแผนการดำเนินโครงการ

     7.2   ประสานงานและมอบหมายหน้าที่ในโครงการ

     7.3   จัดโครงการและรายงานผลโครงการ

8.  ผู้รับผิดชอบโครงการ 

     อาจารย์ ดร.จันจิราภรณ์ ปานยินดี

     สาชาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

9.  งบประมาณที่ใช้

     งบประมาณที่เบิกจ่ายจริง จำนวน 6,600 บาท  จากแผน 7,500 บาท คิดเป็นร้อยละ 88

หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคน เท่ากับ 6,600 บาท/39 คน เท่ากับ 169.23 บาท      

10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ   

     10.1  นักศึกษามีความรู้และฝึกทักษะโปรแกรมสำเร็จรูปด้านการบริหารค่าตอบแทน (payroll)

     10.2  นักศึกษาได้ฝึกทักษะการเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติและมีทักษะในศตวรรษที่ 21

11. การติดตามและประเมินผล/แนวทางการประเมินโครงการ 

     11.1  ผู้รับผิดชอบโครงการติดตามและประเมินผลโครงการหลังจากดำเนินการเสร็จ

     11.2  กำหนดเกณฑ์การประเมินผล ได้แก่

            คะแนน post-test สูงกว่า คะแนน pre-test

     11.3  เลือกวิธีที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบฝึกหัด

     11.4  จัดทำรายงานผลโครงการและส่งไปคณะ

12. ความสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยในด้านต่าง ๆ ดังนี้

     12.1  ความสอดคล้องกับจุดเน้นในการทำงบประมาณ ปีงบประมาณ 2564 ของมหาวิทยาลัย

            ยุทธศาสตร์ที่ 1 ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีที่มีศักยภาพรองรับการพัฒนาประเทศ

            กลยุทธ์ที่ 2.4 เสริมสร้างและบูรณาการการจัดการเรียนรู้ให้นักศึกษามี Digitalization & Digital Skills

     12.2  สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี 2564  ของมหาวิทยาลัย

            KR1.1 บัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ได้งานทำ/ศึกษาต่อ/เป็นเจ้าของธุรกิจภายใน 1 ปี

     12.3  สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของคณะ/หน่วยงาน/สำนัก

            ยุทธศาสตร์ที่ 1 ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีที่มีศักยภาพรองรับการพัฒนาประเทศ

     12.4  สอดคล้องกับงานประกันคุณภาพการศึกษา

            องค์ประกอบที่ 3 เรื่องนักศึกษา

13. ความสอดคล้องกับพระบรมราโชบายด้านการศึกษา

     มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีงานทำ และเป็นพลเมืองดี

14. ความสอดคล้องกับค่านิยม 12 ประการ  ดังนี้

     ข้อ 2 ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน

     ข้อ 4 ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม

     ข้อ 8 มีระเบียบ วินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่

15. ความสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

     พอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา

 

 

-----

เว็บไซต์มหาวิทยาลัย : www.npru.ac.th

เว็บไซต์สาขาวิชา : http://pgm.npru.ac.th/hrm

ดูประวัติผู้เขียน : https://pws.npru.ac.th/janjirapon

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวทางการเสริมสมรรถนะบัณฑิตนักปฏิบัติ HRM

แนวทางการเสริมสมรรถนะบัณฑิตนักปฏิบัติ: ทักษะการฝึกอบรมแบบออนไลน์ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม